วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558
ข้อคิดจากเรื่องเล่า: เมล็ดข้าวโพดในกรวย
มิลเลอร์เป็นเด็กฉลาด สนใจหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าเขียนภาพ เล่นแอคคอร์เดียน ว่ายน้ำ เล่นบาสเกตบอล เขาอยากหัดอยากเล่น อยากได้ที่หนึ่งทั้งหมด แต่เขาทำได้ไม่ดีที่สุดแม้แต่อย่างเดียว
มิลเลอร์จึงหงุดหงิดบ่อย ผลการเรียนก็ถดถอยลงเป็นอย่างมาก
วันหนึ่ง หลังรับประทานอาหารค่ำแล้ว คุณพ่อเห็นมิลเลอร์ไม่สบายใจก็ลูบศีรษะลูก ถามว่า
"เด็กเอ๋ย ค่ำวันนี้ คิดทำอะไรหรือ"
"ฉันจะเขียนภาพ แต่ก็กังวลเรื่องสอบแอคคอร์เดียน เดี๋ยวยังต้องฝึกอีก นอกจากนี้อีกสองวันก็จะสอบพละ เล่นบาสเกตบอล ยังมีท่าหนึ่ง ฉันไม่ถนัดต้องฝึกเช่นกัน"
"ค่ำนี้ลูกคงจะไม่ว่างเลย มีหลายอย่างต้องฝึก" คุณพ่อพูดต่อทันทีว่า "พักสักครู่นะ เรามาเล่นเกมกันดีกว่า"
พูดจบ คุณพ่อก็ไปเอาข้าวโพดมากำหนึ่ง แล้วให้มิลเลอร์ถือกรวยไว้ จากนั้น หยอดเม็ดข้าวโพดลงไปในกรวยหนึ่งเมล็ด เมล็ดข้าวโพดก็ไหลลงไปในมือมิลเลอร์
คุณพ่อหยอดเมล็ดที่สอง เมล็ดที่สาม... พริบตาเดียว ในมือของมิลเลอร์ก็มีเมล็ดข้าวโพดสิบกว่าเมล็ด
"คุณพ่อ ฉันยังต้องหัด..." มิลเลอร์ไม่รู้สึกสนุกกับเรื่องนี้
คุณพ่อจึงพูดว่า "อย่าใจร้อน ดูสิ" พูดจบ ก็เอาเมล็ดข้าวโพดทั้งหมดใส่ลงในกรวยพร้อมกัน เมล็ดข้าวโพดรวมกัน ติดกึกอยู่ในกรวยทั้งหมด ไม่ไหลลงไปแม้แต่เมล็ดเดียว
ตอนนี้เอง คุณพ่อก็พูดว่า
"หัดทีละอย่าง เธอก็จะได้เก็บเกี่ยวข้าวโพดทีละหนึ่งเมล็ด ถ้าเธอคิดหัดพร้อมกันทีละหลายๆอย่าง เธอก็จะได้ไม่ได้ข้าวโพดแม้แต่เมล็ดเดียว เข้าใจหรือยัง?
มิลเลอร์พยักหน้า เริ่มรู้จักจัดตารางฝึกหัด ตั้งใจฝึกหัดทีละอย่าง ไม่ฝึกหัดพร้อมกันทีละหลายๆอย่าง แล้วในไม่ช้า ผลการเรียนของมิลเลอร์ก็ดีขึ้น อะไรที่เขาชอบ ก็กลับนำความสุขมาให้เขาอีกครั้ง
เรื่องนี้กำลังบอกอะไรเราอยู่?
พ่อของมิลเลอร์เข้าใจวิธีให้การศึกษาแบบสะกิดเกาปัญญา ทำให้ลูกรู้ว่าแบ่งแยกสมาธิไม่ได้ คนเรามีเวลาและกำลังปัญญาจำกัด ทำได้แค่ทีละอย่าง หมายความว่า ถ้ารู้จักทุ่มเทกำลังกาย ใจ ปัญญา สมาธิทั้งหมดทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีมาก ถ้าอ่านหนังสือไปคุยสนุกไป ผลคือ อ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ คุยสนุกแต่กลับไม่รู้สึกสนุก ไม่รู้ว่าคุยอะไรกัน กลายเป็นว่าไม่ได้อะไรสักอย่าง
เรื่องเล่าเรื่องนี้ ยังบอกเราอีกด้วยว่า โลภมาก รู้ไม่ลึก เรียนกว้าง รู้ไม่แจ้ง คำพังเพยว่า "รู้หลากหลายวิชาเลี้ยงครอบครัวไม่ได้" เรียนวิชาหลากหลายมากไป ย่อมรู้แต่ละวิชาไม่ถ่องแท้ถึงแก่น เมื่อรู้แค่เปลือกและมิได้ฝึกฝนจนชำนาญอย่างแท้จริง ย่อมทำดีไม่ได้เท่าที่ควร
Cr. เจียระไนปัญญา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น