วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Judgement vs Decision


     คุณรู้ความแตกต่างระหว่างคำว่า "Judgement" (การวินิจฉัย) กับคำว่า "Decision" (การตัดสินใจ) หรือไม่?

     Judgement เป็นการวินิจฉัยข้อมูลอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ส่วน Decision คือการตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากผลการพิจารณา

     ยกตัวอย่าง สมมติว่าคุณกำลังจะขับรถไปยังจุดหมายที่มีเส้นทางให้เลือก 2 เส้น เมื่อวิเคราะห์แผนที่และข้อมูลการจราจรแล้วปรากฎว่าเส้นทาง A ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนเส้นทาง B ใช้เวลาประมาณ 40 นาที การที่คุณได้คำตอบว่า "เส้นทาง B ไปถึงเร็วกว่า จึงควรเลือกเส้นทาง B" คือ Judgement

     ถ้าเส้นทาง A กับ B มีความแตกต่างกันชัดเจน ข้อสรุปที่ได้จะเหมือนกับ Judgement แต่บางกรณีไม่มีข้อมูลมากพอให้วินิจฉัยได้ หรือผลการวินิจฉัยออกมาว่าเลือกเส้นทางไหนก็ไม่ต่างกัน การหาข้อสรุปในกรณีนี้คือ Decision ดังนั้นกรณีที่คุณขับรถไปตามเส้นทางนอกแผนที่ หรือกรณีที่คาดว่าเส้นทาง A กับ B คงใช้เวลาพอๆกันในการถึงจุดหมาย คุณก็ต้องพึ่ง Decision

     คำถามต่อไปที่น่าจะเกิดขึ้น คือ ระหว่าง Judgement กับ Decision คุณควรใช้เวลาในแต่ละสิ่งประมาณเท่าใด

     กรณี Judgement คุณควรตั้งเกณฑ์ว่า "ควรจะ Judgement เมื่อได้รับข้อมูลครบ 3 แหล่ง" เพราะว่าการวินิจฉัยต้องการความถูกต้องตามหลักเหตุผล ถ้าข้อมูลที่ใช้วินิจฉัยมีเพียงด้านเดียว โอกาสที่จะตัดสินใจผิดพลาดก็มีสูง

     ย้อนไปที่ตัวอย่างการขับรถ ถ้าคุณมีแผนที่เก่าๆแค่แผนเดียวและยังวินิจฉัยอะไรไม่ได้ ปลายทางสะพานข้ามแม่น้ำอาจมีเส้นทางอื่นเพิ่มขึ้นอีก แม้แผนที่จะถูกต้อง แต่บางจุดอาจมีรถติดได้ การ Judgement ในลักษณะนี้ทำเร็วเกินไป คุณควรพักการวินิจฉัยไว้ก่อนจนกว่าจะหาแผนที่ใหม่ได้เป็นอย่างน้อย และเปิดฟังวิทยุฟังข้อมูลล่าสุดของการจราจรด้วย

     ถ้าคุณได้ข้อมูลครบ 3 แหล่งแล้ว คุณก็จะวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ ยิ่งมีแหล่งข้อมูลเพิ่มขึ้น ความแม่นยำก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย แต่คงยังไม่ถึง 100% เพราะหากตั้งเป้าไว้สูงขนาดนั้น คงต้องวินิจฉัยต่อไปไม่จบไม่สิ้น หากคุณมั่นใจว่าคำตอบที่คุณได้จากข้อมูล 3 แหล่งมีความแม่นยำประมาณ 80-90% ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยให้มากกว่าไปนี้แล้ว

     ส่วนการ Decision ยิ่งใช้เวลาน้อยยิ่งดี แม้แต่เรื่องร้ายแรงก็ควรใช้เวลาประมาณ 1 นาที เนื่องจากใช้เวลามากไปกว่านี้ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา เมื่อคุณตระหนักในหลักเกณฑ์เหล่านี้แล้ว การออกคำสั่งหรือแก้ไขปัญหาก็จะทำได้อย่างถูกต้องและฉับไว

Cr. เรียบเรียงจาก เคี่ยวคน 5% เห็นผลทั้งองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น