ตอนที่เอดิสันประดิษฐ์หลอดไฟนั้น มีผู้ช่วยหนุ่มคนหนึ่งชื่อ 'อัพตอน' จบสาขาวิชาคณิคศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังพรินซ์ตัน กุมสูตรคณิตศาสตร์ไว้ได้จำนวนมาก ตอนนั้น อัพตอนเสนอความคิดเห็นที่ดีไว้ไม่น้อย เอดิสันเห็นด้วยและนำไปใช้ ช่วยร่นกระบวนการผลิตหลอดไฟได้มาก เอดิสันรู้สึกขอบคุณอย่างมาก มองเห็นความสามารถของเขา ถึงกับเห็นเขาเป็นอัจฉริยะบุรุษคนหนึ่ง ให้การดูแลเอาใส่ใจเป็นพิเศษ
แต่อัพตอนก็พบว่าเอดิสันไม่ได้เรียนหนังสือ ทำงานในห้องทดลอง มีหลายสิ่งหลายอย่างเทียบตนไม่ได้ ประกอบกับเขาสร้างคุณประโยชน์ส่วนหนึ่งให้กับการทดลองด้วย ก็เริ่มหยิ่งทะนง ดูถูกเอดิสัน เมื่อเอดิสันรู้ตัวแล้ว ก็เห็นว่า อัพตอนต้องแก้ไขข้อบกพร่องก่อน จึงจะมอบหน้าที่สำคัญให้ได้
วันหนึ่ง เอดิสันเอาหลอดไฟหลอดหนึ่ง ส่งให้อัพตอนแล้วบอกว่า "ผมกำลังง่วนกับงานคิดค้นประดิษฐ์หนึ่ง คุณช่วยคำนวณปริมาตรของหลอดไฟนี้หน่อยสิ" อัพตอนฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายมาก จึงรับปาก
อัพตอนรับหลอดไฟแล้วหยิบไม้บรรทัดขึ้นมาวัด จากนั้นคำนวณบนแผ่นกระดาษทั้งวาดรูปและเขียนสูตร ใช้กระดาษกว่าสิบกว่าแผ่น ง่วนอยู่กับการคิดตั้งนานก็ยังคำนวณปริมาตรของหลอดไฟไม่ได้ เพราะรูปลักษณ์ของหลอดไฟไม่เป็นเกณฑ์ ปัญหาที่ดูคล้ายง่าย แต่ทำไมยากเช่นนี้? อัพตอนคิดไม่ออกแต่ไม่ใช่คนยอมแพ้อะไรง่ายๆ จึงก้มหน้าคำนวณต่อไปชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าก็ยังคำนวณไม่ออกเช่นเดิม
ถึงตอนนี้ เอดิสันง่วนกับงานที่เพิ่งทำเสร็จ กลับเข้ามาเห็นอัพตอนยังคำนวณอยู่ก็ถามว่า "ทำไมถึงช้าแบบนี้"
อัพตอนพูดเหมือนไม่มีอะไรว่า
"นี่เป็นปัญหาที่ยากมาก! หลอดไฟทรงกลมเว้ารี ไม่เป็นกฎเกณฑ์ คำนวณไม่ง่ายเลย คุณเองก็คำนวณไม่ได้!"
เอดิสันยิ้มแล้วพูดว่า
"ให้ผมลองดู ผมกลับรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายมาก!"
เขาหยิบหลอดไฟ เดินไปที่หน้าโต๊ะทดลอง ใส่น้ำลงในแก้วตวงจนเต็ม จากนั้นเอาหลอดไฟใส่ลงไปในแก้วตวงจนมิดน้ำ น้ำในแก้วตวงก็ล้นออก เอดิสันค่อยหยิบหลอดไฟขึ้นมา แล้วก็ดูระดับน้ำตามขีดในแก้วตวง ก็คำนวณปริมาตรของหลอดไฟออกมาอย่างดาย
อัพตอนถึงกับหน้าแดง ปัญหาที่เขาใช้หน้ากระดาษกว่าสิบแผ่นเสียเวลาสามชั่วโมง ยังแก้ไม่ตก เอดิสันสามารถให้คำตอบโดยใช้เวลาไม่ถึงสามนาที เอดิสันเป็นคนมีสติปัญญาเหนือคนทั่วไป และมีประสบการณ์อุดมสมบูรณ์โดยแท้! นับแต่นั้นมา อัพตอนก็ไม่กล้าดูถูกเอดิสันอีก ส่วนเอดิสันก็ยังมอบหมายงานสำคัญจำนวนมากให้อัพตอนช่วยรับผิดชอบ
เรื่องนี้กำลังบอกอะไรเราอยู่?
นี่คือนิทานใช้การระบายน้ำออกเป็นสื่อกลางสำหรับคำนวณปริมาตรสะท้อนว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าทำอะไร ล้วนแสดงออกซึ่งสำนึกสร้างสรรค์ ส่วนคนที่กอดสูตรนิยมไว้ ไม่ว่าทำอะไร ล้วนจะอยู่ในกรอบเดิมๆ ฝ่าทะลวงออกไปไม่ได้
ในที่นี่ขอพูดถึงอีกปัญหาหนึ่ง คือ "การทำให้เป็นแบบง่าย" อัพตอนใช้วิธีคำนวณปริมาตรที่ยุ่งยากซับซ้อน ถึงคำนวณปริมาตรของหลอดไฟได้เช่นกัน แต่สิ้นเปลืองเวลาและสมาธิมากมาย ส่วนวิธีการเอดิสันแท้ที่จริงก็คือ "การทำให้เป็นแบบง่าย" แบบหนึ่งซึ่งก็คือ การสร้างสรรค์ การคิดค้นประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่นั่นเอง ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการใช้เวลา เกิดประสิทธิผลได้มาก ไม่เหนื่อยแรงทั้งกายและสมอง
การสร้างสรรค์คิดค้นประดิษฐ์นั้น มีเป้าหมาย 2 ข้อ คือ หนึ่ง ทำให้ชีวิตคนเราเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพมากขึ้น สอง ช่วยเพิ่มพูนเชิงปริมาณให้สมบูรณ์มากขึ้น "การทำให้เป็นแบบง่าย" จึงเป็นการสร้างสรรค์แบบหนึ่งด้วย
Reference: เจียระไนปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น