วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

เคล็ดลับการพูดในที่สาธารณะ (1)


     การพูดในที่สาธารณะนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งรวมทั้งการบรรยาย การปราศรัย การโต้วาที หรือ การเป็นพิธีกร ซึ่งแต่ละประการดังที่กล่าวมานั้นล้วนข้องเกี่ยวอยู่กับเทคนิคพิเศษด้วยกันอยู่ทั้งสิ้น แต่ทุกรูปแบบนั้นจำเป็นต้องได้รับความสนใจอันเป็นหลักการพื้นฐาน

     การพูดในที่สาธารณะนั้น อาจจะนำมาใช้เพื่อเสนอแนวความคิดของตนต่อผู้อื่น การปราศรัยเพื่อสร้างความสำราญให้เกิดขึ้นภายหลังการรับประทานอาหารค่ำ หรือ ในงานเลี้ยงฉลองโอกาสต่างๆหรือไม่ก็อาจจะเป็นการเรียกร้องเกลี้ยกล่อมให้บุคคลอื่นคล้อยตามความคิดเห็นและทัศนคติที่คุณนำเสนอหรือไม่ก็เพื่อก่อให้เกิดหนทางในการปฏิบัติเป็นต้น


การเตรียมการปราศรัย

     คำปราศรัยนั้นจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์หลักและจะต้องมีเป้าหมายรองไว้ด้วย อาจจะทำได้ด้วยการ เตรียมไว้ล่วงหน้าหรือเก็บเกี่ยวจากสถานการณ์ภายนอก

     อย่างไรก็ตามมันจะต้องมีพลังต่อจิตใจของผู้ฟังสามารถรักษาความสนใจของผู้ฟังไว้โดยตลอดการปราศรัยจะต้องดำเนินไปเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ผู้ฟังได้มุ่งหวังตั้งใจไว้

วิธีที่จะเตรียมคำปราศรัยที่ดีนั้นมีดังต่อไปนี้
  1. เลือกประเด็นหรือหัวข้อที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้ฟัง
  2. กำหนดและจำกัดคำปราศรัยไว้แต่เพียงจุดประสงค์เดียว ซึ่งจะต้องเหมาะสมกับคุณสมบัติและประสบการณ์ของคุณเอง
  3. เตรียมโครงสร้างคำปราศรัย ซึ่งสามารถจะนำมาใช้เป็นบทสรุปประเด็นสำคัญตามต้องการได้
  4. จัดระเบียบข้อมูลวัตถุดิบที่เตรียมไว้ เพื่อให้การ "สื่อ" ของคุณมีพลังยิ่งขึ้น
  5. เขียนคำปราศรัยให้มีสีสันและบรรยากาศที่น่าสนใจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ควรจะเสริมพลังด้วยการแต่งเติมสีสันเข้าไว้ในช่วงกลางของการปราศรัย
  6. ในขั้นสุดท้าย นำเสนอคำปราศรัยด้วยการใช้คำพูดง่ายๆ เพื่อผู้ฟังจะรับได้และสามารถซึมซับสิ่งที่คุณถ่ายทอดไปสู่คนฟังได้ง่ายขึ้น

รู้จักผู้ฟัง

     ในการสื่อความเข้าใจใดๆก็ตาม การ "รู้จัก" หรือมีความรู้เกี่ยวกับผู้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คุณจะต้องถามตัวเองว่า
  • พวกเขาหวังจะได้รับข้อมูลอะไร และเขาจะ "ซื้อ" สิ่งที่คุณเสนอ "ขาย" อยู่หรือไม่?
  • พวกเขามีความรู้เกี่ยวกับอะไรอยู่แล้ว?
  • พวกเขาต้องการรู้อะไรที่มากไปกว่านั้น?
     คุณจะตั้งข้อสันนิษฐานอะไรเกี่ยวกับผู้ฟังไว้ล่วงหน้า เพื่อที่คุณจะสามารถถ่ายทอดข่าวสารไปสู่เขาได้โดยปราศจากอุปสรรค


ปรับรูปแบบของวัตถุดิบ

     คุณจะต้องรู้จักปรับรูปแบบของวัตถุดิบหรือข้อมูลที่จะนำเสนอ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถซึมซับเข้าใจได้โดยง่าย ปกติแล้วการทำเช่นนี้จำเป็นจะต้องมีการกล่าวนำตามด้วยประเด็นหลักของข้อมูลที่คุณต้องการจะหสื่อความเข้าใจและนำไปสู่บทสรุป หรือการสรุปประเด็นสำคัญในแต่ละช่วงตอน การจัดระเบียบให้กับข้อมูลต่างๆนั้นมีอยู่หลายวิธี เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ


หัวข้อที่นำเสนอ

     คุณจะต้องแบ่งคำปราศรัยออกเป็นหลายส่วน แยกแยะแต่ละหัวข้อหรือแต่ละประเด็นออกและจัดให้มันเข้าระเบียบไว้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะหยิบยกแต่ละประเด็นขึ้นมาพูดแล้วจึงเชื่อมโยงประเด็นต่างๆนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นหรือในตอนสุดท้ายก่อนจบการปราศรัย วิธีนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง


กำหนดข้อมูลและจัดเวลา

     วิธีการนี้คือการนำเสนอข้อมูลหรือประสบการณ์โดยเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดอยู่ การสอนในลักษณะบรรยาย หรือ การออกคำสั่งจะต้องจัดระเบียบข้อมูลด้วยวิธีนี้


พื้นที่

     การปราศรัยหรือบรรยายในรูปแบบนี้ คือ การวางโครงสร้างให้มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ซึ่งจัดการปราศรัยขึ้น หรือสถานที่ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างอิงจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อบรรยายเกี่ยวกับสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์หรือพิพิธภัณฑ์


ตรรกะ

     รูปแบบของการปราศรัยหรือการบรรยายลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อแสดงเหตุผลเพื่อการโต้แย้งหรือเพื่อการพิสูจน์หลักฐาน แต่ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมากล่าวจะมีเหตุผลและสามารถพิสูจน์ในความเป็นจริงได้ เหตุผลที่นำขึ้นมาอ้างอิง เพื่อพิสูจน์ความจริงดังกล่าวจะต้องสามารถหักล้างเหตุผลที่อ้างอิงไว้ได้


การหักล้างข้อมูลฝ่ายตรงข้าม

     การหักล้างฝ่ายตรงข้าม คือ การปราศรัยเพื่อหาทางออกให้กับทุกปัญหาที่เกิดอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นการทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพหรือไม่เหมาะสมอะไรก็ตามแต่กระบวนการ "กวาดล้าง" ดังกล่าวจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนสามารถกำจัดปัญหาออกไปได้ทั้งหมดเหลือเพียงแต่บทสรุปที่มีคุณค่า คือ บทสรุปของการแก้ปัญหาที่คุณให้การสนับสนุนหรือเป็นทนายแก้ต่างให้อยู่


การแก้ปัญหา

     การนำเสนอด้วยวิธีนี้จะนำวิธีการแก้ปัญหาต่างๆเข้ามาช่วย เพื่อการนำเสนอข้อมูลโดยเรียงลำดับตามวงจรของการแก้ปัญหา


การน้อมนำ

     การปราศรัยในลักษณะนี้ คือ ใช้วิธีการเกลี้ยกล่อมในเบื้องต้นและค่อยๆเพิ่มแรงกระตุ้นหรือผลักดันประเด็นที่นำเสนอจะเริ่มต้นจากประเด็นที่ค่อนข้างเบาและเพิ่มน้ำหนักให้เข้มข้นเรื่อยๆด้วยการใช้แรงผลักดันทางอารมณ์เข้าช่วย แต่เป็นอารมณ์ที่ประกอบด้วยเหตุผล


การสร้างลักษณะพิเศษและการสนับสนุน

     การปราศรัยของคุณจะส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่จดจำได้มากขึ้น ถ้าคุณสามารถสร้างลักษณะพิเศษให้เกิดขึ้นกับการปราศรัยนั้นๆได้ และยังช่วยในการสนับสนุนแนวความคิดของคุณได้อีกด้วย

     การสร้างลักษณะพิเศษที่ว่านี้ นำเสนอตัวอย่างจากประสบการณ์ด้วยการหยิบยกขึ้นมากล่าวเพื่อให้ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น การสนับสนุนด้วยวิธีอื่นนั้นมีดังต่อไปนี้
  1. นำเสนอสถิติ ตัวเลข และข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์หรือวิจัย
  2. ให้ข้อมูลที่ตรงต่อความเป็นจริง
  3. ใช้การแสดงนิทรรศการเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วย
  4. นำเสนอการทดลองอย่างเชี่ยวชาญ
  5. สร้างข้อเปรียบเทียบและความแตกต่างให้ผู้ฟังมองเห็นได้
  6. สรุปด้วยวิธีการนำเสนอแบบรายงาน

     การกล่าวนำนั้นจะต้องส่งผลให้จูงใจผู้ฟังให้อยู่กับคุณได้ คุณจะต้องบอกพวกเขาเตรียมตัวรับฟังสิ่งที่คุณกำลังจะนำเสนอ เพื่่อช่วยให้พวกเขาเตรียมตัวรับฟังสิ่งที่คุณกำลังจะนำเสนอ เพื่อช่วยให้พวกเขามีความสนใจและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆด้วยกันได้ การปราศรัยในลักษณะโต้แย้งหรือท้าทายผู้ฟัง การหยิบยกคำพูดที่เชื่อมโยงกับประเด็นแต่มีพลังอย่างมาก การสร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่สามารถเรียกความสนใจจากผู้ฟังได้ทั้งสิ้น

>>> อ่านต่อ เคล็ดลับการพูดในที่สาธารณะ (2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น