---
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ทางชีวเคมีและนวัตกรรม เพื่อขยายเวลาของหนุ่มสาวรวมถึงการชะลอความชราพร้อมรักษาสุขภาพของคนสูงวัยให้สูงขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดไว้ทั้งหมด 3 ระดับ
1. ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
การมีจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่า 7% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ปรากฎในประเทศกำลังพัฒนา
2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
คำนวณจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเกินกว่า 14% จากจำนวนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และจีน
3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ (Super-Aged Society)
เมื่อมีประชากรผู้สูงอายุ มากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ญี่ปุนเป็นประเทศแรกของโลกที่ก้าวสู่ระดับนี้ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 30% และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 40% ภายใน 10 ปีข้างหน้า สังเกตได้จากยอกจำหน่ายผ้าอ้อมผู้ใหญ่ที่มีมากกว่าผ้าอ้อมสำหรับเด็ก และปริมาณอาหารบำรุงสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งสวนทางกับปริมาณความต้องการอาหารเด็กอ่อน แนวโน้มการตลาดที่ผกผันนี้ ทำให้ธุรกิจสินค้าสำหรับทารกในญี่ปุ่นเติบโตช้า และคาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ หลายๆประเทศจึงรับมือด้วยการปรับเกณฑ์เกษียณอายุและกองทุนบำนาญใหม่ โดยที่ ญี่ปุ่นปรับการเกษียณอายุจากเดิมเป็น 60 ปีเป็น 65 ปี ในขณะที่เยอรมนีจาก 65 ปีเป็น 67 ปี
ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ได้เพิ่มอายุกองทุนบำนาญและสวัสดิการสังคมถึงอายุ 70 ปี เมื่อผู้สูงอายุต้องทำงานนานขึ้น จึงทำให้คนรุ่นใหม่ถูกจ้างงานน้อยลงและมีอัตราตกงานมากขึ้น แต่พฤติกรรมผู้สูงอายุยุคใหม่ไม่ได้ยึดติดกับการทำงานจนครบวัยเกษียณ แต่เลือกที่จะเกษียณตัวเองเร็วขึ้นและทำอาชีพอิสระ ไม่ใช่ทำงานเต็มเวลาเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาว ซึ่งเห็นได้ชัดว่า สุขภาพดีและการแสวงหาความสุขในชีวิตกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้สูงอายุในวันนี้ แม้สุดท้ายยังต้องทำงานจนครบเกษียณอายุ แต่ไม่ใช่ท้ายที่สุดของชีวิตการทำงาน
ผลและแนวโน้มที่เกิดขึ้น
1. จำนวนครัวเรือนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว หรือครอบครัวเดี่ยวจะมีมากขึ้น และมองขนาดของที่อยู่อาศัยไม่สำคัญเท่ากับการใช้สอยอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดให้มีความต้องการเข้าสังคมและมีกิจกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุในสังคมเมือง ยอดจำหน่ายรองเท้ากีฬาสูงขึ้นในปี 2013 สูงขึ้น โดยเฉพาะ ยี่ห้อ Nike ในขณะที่นาฬิกา Rolex มียอดขายน้อยลงเมื่อเทียบกับนาฬิกาแนวสปอร์ตหลายรุ่น
[รายงานสำรวจโดย English Longitudinal Study of Aging (ELSA) ของอังกฤษ)]
2. เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่เปิดรับสิ่งใหม่ๆมากกว่าเดิม และสนใจที่จะทดลองของใหม่ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลและแก็ตเจ็ดต่างๆ โดยมียอดสถิติในการโหลดเพลงในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และจำนวนชั่วโมงต่อเดือนในการดูโทรทัศน์ของผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากกว่าคนอายุ 18-34 ปี ถึง 63% ดังนั้นภาคธุรกิจจึงหันมามุ่งเน้นสื่อมัลติมีเดียมากขึ้น
[รายงานจาก Nielsen]
3. ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่กำลังมุ่งเน้นเรื่องของเศรษฐกิจและอัตราการจ้างงาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากลับชูนโยบายด้านการแพทย์ เพื่อรับมือสภาวะสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบในไม่ช้า เช่นเดียวกับ ที่ประเทศจีน หลังจากที่กฎหมายคุมกำเนิดไม่อาจแก้ปัญหาการเพิ่มจำนวนประากรสูงวัย จึงหันมาพิจารณาด้านการแพทย์อย่างจริงจัง โดยสร้างศูนย์วิจัยขนาดใหญ่ ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อวิจัยด้านชีวโมเลกุล ดีเอ็นเอและเนื้อเยื่อเทียมในรูปแบบสามมิติ ซึ่งคาดว่าในปี 2050 จะมีผู้ต้องการใช้บริการด้านนี้สูงถึง 120 ล้านคนเนื่องจากไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สุขภาพที่ดีของประชากรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
4. การบริการทางด้านการแพทย์กำลังเป็นที่นิยม เพราะคนเริ่มตระหนักถึงการใช้ชีวิต กิน นอน เดิน ฟัง และจดจำได้ ต้องการมีชีวิตที่ยืนยาวพร้อมกับสภาพร่างกายที่ดูอ่อนเยาว์ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้สูงอายุชาวอเมริกันสนใจเรื่องเวชศาสตร์การชะลอวัยเพิ่มขึ้นถึง 66% ทั้งในเรื่องการศัลยกรรม หรือ การทานวิตามิน อาหารเสริม อย่างอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย ที่มีการบริโภควิตามินมากขึ้นในทุกเพศทกวัย วิตามินส่วนใหญ่ที่นิยมทานมักจะเป็นลักษณะในเรื่องความต้องการของสมอง ผิวพรรณ และมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดอายุ Anti-Aging กันมากขึ้น
5. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพจะมีมากขึ้น คนส่วนใหญ่เริ่มอยากรู้ว่าอาหารที่กำลังรับประทานอาหารอยู่คืออะไร? มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน และมากกว่าอะไรที่เราไม่ควรรับประทาน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องสแกนอัจฉริยะ TellSpec ที่เป็นเทคโนโลยีที่สามารถบ่งชี้ส่วนประกอบของสารอาหาร สารอาหารที่แพ้ และสามารถตรวจสอบความสะอาดของอาหารก่อนเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย
---
ในบทความครั้งต่อไป ผมจะนำเสนอบทความ Trend 2015 ที่น่าสนใจอีกเรื่อง คือ
"Age of Context ยุคแห่งการเข้าใจความหมาย ในยุคดิจิทัล"
---
Thanks for Credit: TCDC (Thailand Creative & Design Center)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น