รู้ว่าคุณต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่ฉับไวอย่างโลกอินเทอร์เน็ตนั้น การพยายามเรียนรู้ทุกอย่างโดยไม่ได้เลือกสรรนับเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ ยังมีวิธีการกักเก็บความรู้ในรูปแบบอื่นด้วย นั่นคือ ไม่เก็บความรู้ที่ได้มาไว้ในความจำของคุณเอง แต่ให้มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและทันสมัยซึ่งคุณเรียกว่าได้ง่าย
ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ ที่อยู่ในแวดวงต่างๆ เช่น ทางกฎหมาย หรือ ทางการเงิน ต่างรู้มานานแล้วว่า ประสิทธิภาพของพวกเขาไม่ได้อยู่ที่ ความรู้มากมายที่เขามีอยู่ แต่อยู่ที่ความสามารถในการเลือกซักถาม และรู้ว่าจะค้นหาคำตอบที่เหมาะสมได้ที่ไหน
การเน้นเรื่อง "ความเหมาะสม" เป็นสิ่งสำคัญ เพราะด้วยความที่มีข้อมูลมากมายจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ดังนั้นการคัดเลือกเฉพาะข้อมูลสำคัญจึงถือเป็นการใช้ความฉลาดได้ดียิ่งอย่างหนึ่ง เช่น การท่องอินเทอร์เน็ต 10 นาที หรือ การอ่านหนังสือพิมพ์สัก 1 ชั่วโมง อาจช่วยเสริมให้ข้อมูลมากมายกลายเป็นความจริงมากขึ้น
การค้นหาข้อมูลและประเมินแหล่งข้อมูลนั้น คุณย่อมจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาบางอย่างนั้น ทำให้ฐานความรู้เดิมของคุณเองเพิ่มขึ้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น คุณจะต้องใช้ความสามารถในคิดวิเคราะห์ รวมทั้งต้องมีความสามารถหาทางเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการใช้สติปัญญาของคุณอย่างชาญฉลาด
การค้นหาแหล่งข้อมูล
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ ยูรี บรอนเฟนเบรนเนอร์ ได้คิดค้น ระบบการจัดอันดับองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมของบุคคลหนึ่ง ไล่ไปตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับโลก โดยแต่ละองค์ประกอบจะ "จัดเรียง" ต่อกับองค์ประกอบอื่นเหมือนชามที่ซ้อนกัน โครงสร้างแบบนี้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการกับแหล่งข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือจะเป็นหลายๆเรื่องมาเกี่ยวโยงกันก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นละคร ภาพยนตร์ จนถึงเรื่องการพัฒนาเทคนิคการทำงาน ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่เรียงกัน ซึ่งคุณอาจนำไปใช้ในงานของคุณได้นั้นแสดงไว้ด้านล่างนี้
- ระบบสังคมเล็ก (ระดับบุคคล)
- ระบบสังคมร่วม (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมเล็ก 2 กลุ่ม)
- ระบบสังคมภายนอก (อิทธิพลจากภายนอกโดยตรง)
- สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่กว้างออกไป
(สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่กว้างขึ้น) - ระบบเวลา (ระบบภายนอกที่ต่างขยายและพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป)
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล
- สโมสรท้องถิ่น หรือ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
ทั้งจากตัวเองหรือจากกลุ่มคนที่อยู่ในเครือข่าย - ชั้นฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือพัฒนาตนเองทั้งจาก
องค์กรท้องถิ่น และ องค์กรบริหารส่วนภูมิภาคของรัฐบาล - เว็บไซต์และวารสารของผู้ประกอบอาชีพและการค้า
- สื่อกระจายเสียงและสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป รวมถึงเว็บสารานุกรม
- แหล่งข้อมูลของรัฐบาลและของระดับโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ
การพัฒนารากฐานความรู้
แม้การจัดโครงสร้างของแหล่งข้อมูลนั้น ต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์ แต่เรื่องนี้ก็พิสูจน์ได้ถึงการใช้เวลาและพลังสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 1
- ประเมินแหล่งข้อมูลที่ดีและจัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่
- ตั้งเป้าหมายว่าจะรวมแหล่งข้อมูลจากทุกระดับ (5 ระดับที่กล่าวไปข้างต้น)
มองหาข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ดูหนังสือพิมพ์ที่คุณไม่ได้อ่านปกติ
หรือ เปิดฟังสถานีวิทยุที่คุณไม่ได้ฟังเป็นปกติ
ขั้นที่ 2
- เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
(เช่น สมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ วารสาร สโมสร หรือ สมาคม) - เพิ่มเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ลงไปใน รายการเว็บโปรด (ฺBookmark หรือ Favorite) ของคุณ
ขั้นที่ 3
- คอยมองหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆมาเพิ่ม
- จัดหาเวลาในการตรวจและรวบรวมข้อมูลใหม่ๆ
"ความรู้มีสองประเภท คือ ประเภทที่เรารู้ด้วยตนเอง
กับ ประเภทที่ตัวเรารู้ว่าจะไปค้นหาข้อมูลได้ที่ไหน"
แซมมวล จอห์นสัน (1709-1784)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น