วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อ่านอย่างไร? ให้มีประสิทธิภาพ


        การอ่านนั้นเป็นกิจกรรมที่มีความซับซ้อนมาก มันหมายถึงการตระหนักในถ้อยคำและถอดความหมายของถ้อยคำนั้นๆและยังต้องแยกแยะในความหมายไปพร้อมๆกันด้วย ซึ่งเรื่องนี้ข้องเกี่ยวกับการที่คุณต้องเข้าใจเชื่อมโยงของสิ่งที่กำลังอ่านอยู่จะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่คุณรู้อยู่เดิมแล้ว และเลือก
ข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ในความจำ

        ซึ่งองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้จำเป็นจะต้องประกอบกันเข้าไว้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อที่สามารถเรียกข้อมูลได้ที่ต้องการ สามารถนำความรู้นั้นมาสื่อความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้เมื่อมีความจำเป็นของสถานการณ์เกิดขึ้น


เลือกสิ่งที่จะอ่าน


        ผู้ที่มีงานทำเต็มมือมักต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการอ่านที่เป็นงานรายวันและรายสัปดาห์ ดังนั้นธุรกิจและมืออาชีพทั้งหลายจึงจำเป็นต้องคัดเลือกสิ่งที่ตนสมควรอ่าน

        การจัดลำดับให้กับการสื่อความเข้าใจโดยข้อเขียนนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านที่มากมายได้ โดยคุณแบ่งระดับง่ายๆและติดข้อความ 'ด่วน' 'โดยเร็ว' 'รอได้' 'ผ่านต่อ' และ 'โยนทิ้ง' ไว้ การทำเช่นนี้จะทำให้คุณอ่านข้อเขียนต่างๆตามลำดับการอ่านก่อนหลังได้ง่ายขึ้น

        คุณอาจจะพบว่าการเลือกอ่านเรื่องง่ายๆซึ่งใช้เวลาน้อยมากมาจากเรื่องที่จำเป็นจะต้องให้ความสนใจมากกว่า หรือไม่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องการวิจารณ์เพื่อชั่งน้ำหนัก เรื่องที่จะต้องจดจำ หรือ เรื่องที่จะต้องตอบ ซึ่งคุณจะต้องเตรียมเวลาอ่านไว้อ่านนานกว่า


ทำไมจึงต้องอ่าน?


        นอกเหนือจากการเลือกเรื่องที่จำเป็นจะต้องอ่านแล้ว คำถามสำคัญที่คุณจะต้องตอบให้ได้คือ

ทำไมคุณจะต้องอ่านเรื่องนั้นๆ?

        มีคนเป็นจำนวนมากที่ตั้งหน้าตั้งตาอ่านเอกสาร อีเมล ต่างๆที่ผ่านเข้ามาถึงตน โดยไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น ผลที่เกิดขึ้นคือ คุณต้องพบกับการอ่านที่ไร้ประสิทธิภาพหรือไม่ได้ประโยชน์ใดๆเลย

        คุณสามารถแยกแยะข้อมูลอันเป็นสาระออกมาได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณเตรียมตัวให้พร้อมนั้น หมายถึง มันจะเป็นสิ่งที่เร้าความสนใจ เกิดความสงสัยอยากรู้ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดในสิ่งที่ต้องการรู้หรือต้องการค้นหาคำตอบให้พบ

        อะไรคือคำถามที่คุณอยากจะตอบซึ่งได้จากการอ่าน?


ความสามารถในการอ่าน


        ลักษณะของความแตกต่างในแต่ละวัตถุประสงค์ในการอ่าน ย่อมทำให้วิธีการอ่านที่ดีแตกต่างกัน

        ยกตัวอย่างเช่น การใช้ความคิดพิจารณา ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าอะไรสิ่งที่คุณควรอ่านต่อไป การอ่านคร่าวๆช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมตลอด ส่วนการอ่านเรื่อยๆจะทำให้คุณผ่านเรื่องที่ไม่สำคัญไปได้โดยง่าย แต่การอ่านช้าๆที่ละคำนั้น อาจจะมีความจำเป็นเมื่อต้องการศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคหรือวัตถุดิบใหม่ๆ

        ข้อควรจำ คุณไม่จำเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษรเพียงเพราะมันถูกเขียนขึ้นไว้ คุณเลือกสามารถเลือกอ่านสิ่งที่อยากอ่านก็ได้ และไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดเมื่อจะต้องอ่านข้ามข้อความที่น่าเบื่อหรือไร้สาระ

        วิธีการต่อไปนี้ ถูกเขียนขึ้นโดย โทนี่ บูซาน (Tony Buzan) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่าน ซึ่งคุณอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคุณบ้าง


1. การอ่านเพื่อให้มองเห็นภาพ
  • อ่านปกหนังสือและพลิกดูหน้าใน
  • อ่านหัวข้อของแต่ละบท
  • อ่านหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องรอง Footnote และแผนภูมิกราฟ
  • ดูภาพประกอบ
  • ตัดสินใจว่าควรอ่านต่อไปหรือไม่

2. การอ่านแบบตรวจทาน
  • อ่านบทสรุปหรือตอนจบ
  • อ่านข้อสรุปตอนท้ายของตอนจบ
  • อ่านส่วนต้นและส่วนท้ายของบท
  • หาข้อความหรือวลีที่เป็นประเด็นสำคัญ

3. อ่านเอาเนื้อหา
  • อ่านบทที่เว้นไว้ยังไม่ได้อ่าน
  • ข้ามบทยาก
  • เตรียมการจดบันทึกด้วยการทำสัญลักษณ์ตรงข้อความที่สำคัญและที่ค่อนข้างยาก

4. อ่านเพื่อวิจารณ์
  • ตรวจสอบบทที่มีความสำคัญซ้ำ
  • ทำบันทึกไว้ในตอนนี้ มิใช่ทำก่อนหน้า
  • อ่านส่วนสำคัญที่เว้นไม่ได้อ่านในตอนแรก
  • ตรวจสอบการบันทึก เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นแล้วเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่คุณมีอยู่


        คนส่วนใหญ่มักเริ่มต้นอ่านตั้งแต่บทแรกของหนังสือและอ่านอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด ซึ่งบ่อยครั้งที่สร้างความหงุดหงิดแก่ตนเอง และแทบจะจับสาระเนื้อหาไม่ได้ ดังนั้นการอ่านหนังสืออย่างมีหลักการ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะช่วยปรับปรุงความสามารถในการแปลความหมายของถ้อยคำ และสามารถทำให้คุณเก็บสาระสำคัญจากเรื่องที่มีความยากลำบากในการทำความเข้าใจอย่างมากที่สุดได้อีกด้วย

        ข้อควรจำ คุณคือผู้ที่จะตัดสินว่าสาระใดของหนังสือ เอกสารที่อ่าน อีเมลต่างๆ ที่คุณอ่านอยู่มีความสำคัญจะต้องเก็บไว้ในความจำให้ดี การที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่สิ่งที่ต้องฝึกอย่างทรหดอดทนเลย แต่คุณฝึกเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการอ่านเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น