วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

การอ่านแบบ SQ3R


    หลักการนี้ประกอบด้วยวิธีการ 5 อย่างด้วยกัน คือ surveying, questioning, reading, reciting และ revising เป็นเทคนิคการอ่านวิธีหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ Francis B.Robinson ซึ่งเป็นศาสตราจารย์จิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Ohio อาจเป็นเทคนิคที่ล้าสมัยแต่ก็เป็นวิธีพื้นฐานที่คุณควรรู้


1. Surveying = การสำรวจ
  • อ่านหนังสือแบบให้ผ่านสายตาแล้วอ่านหัวข้อใหญ่ หัวข้อเล็ก หัวข้อสรุปที่อยู่ในทุกท้ายบท (ถ้ามี) แล้วลองคิดว่าในบทๆนั้น ผู้เขียนตั้งใจจะสื่ออะไร แล้วลองเขียนคำตอบดังกล่าวในสมุดบันทึก ลำดับเรื่องให้ต่อเนื่อง จนทำให้เห็นภาพรวมของข้อความที่อ่านทั้งหมดได้

2. Questioning = การตั้งคำถาม
  • ให้สงสัยว่า ทำไมเขาถึงเขียนบอกไว้อย่างนั้น? ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการคิดเป็น จากนั้นเอาความสงสัยดังกล่าวมาเขียนเป็นคำถามหรือตั้งปัญหาขึ้น ถ้าทำได้แล้วค่อยอ่านเนื้อหาข้อความในบทถัดไป

3. Reading = การอ่านจริง
  • อ่านอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ตั้งขึ้นจากขั้นตอนที่แล้ว ให้ใช้เทคนิคการอ่านที่คุณรู้หรือค้นคว้ามา แสดงให้ปรากฎในชั้นเรียนหรือที่ประชุม เพื่อให้คนอื่นได้แสดงความคิดเห็นของเขาออกมาด้วย ช่วยเรียนรู้ให้ได้แง่มุมที่หลากหลายกว่าเดิม จากนั้นเขียนถ้อยคำของคำตอบที่ได้มาทั้งในส่วนของคุณเองและคนอื่น แล้วจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งคุณจะได้โครงเรื่องหรือกรอบของเรื่องที่คุณต้องการว่าคืออะไร

4. Reciting = การทบทวน
  • เมื่อจดจำทุกอย่างได้ขึ้นใจและต่อเนื่องได้จริงแล้ว (อาจต้องใช้เทคนิคช่วยจำต่างๆเข้าช่วย)   ก็ลองนั่งทบทวนเรื่องทั้งหมดในใจ คิดไปพูดในใจด้วยถ้อยคำภาษาของคุณทั้งหมด

5. Reviewing = การตรวจสอบ
  • ดูคำถามที่คุณเคยคิดไว้ ตอบดูเองแล้วดูบันทึกที่จดมา และที่จดเพิ่มเติมทีหลัง จากนี้ก็วัดผลดีเลวของการตอบคุณเอง กี่ข้อที่คุณทำได้ กี่ข้อที่ทำไม่ได้ หรือกี่ข้อเดาชนิดครึ่งต่อครึ่งคือแบบไม่แน่ใจ 50% จากนั้นก็หาความถูกต้องที่ชัดเจน ของคำถามทุกข้อทั้งหมด เชื่อมโยงความคิดเหล่านั้นเข้าด้วยกัน จนทำให้มองเห็นภาพรวมของวิชาที่เรียน หรือ เรื่องที่อ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น