บริษัทแห่งหนึ่งเปิดรับสมัครพนักงาน มีการตั้งคำถามหนึ่งเป็นหัวข้อทดสอบ ดังนี้
ค่ำคืนหนึ่งที่ฝนตกหนักพายุเข้า คุณขับรถผ่านสถานีแห่งหนึ่ง พบว่า มีคน 3 คนกำลังรอรถประจำทาง ด้วยสีหน้าอาการวิตก กระวนกระวาย คนแรกเป็นหญิงชราดูคล้ายป่วยหนักสภาพย่ำแย่มาก คนที่สองเป็นหมอที่เคยช่วยชีวิตคุณไว้ ส่วนคนที่สามเป็นคนรักฝนฝันของคุณ แต่รถของคุณนั่งได้อีกแค่คนเดียว คุณจะเลือกช่วยใคร?
---
นี่คือหัวข้อทดสอบด้านคุณธรรมและบุคลิกภาพ คุณอาจจะเลือกหญิงชราเพราะนางกำลังตาย ควรช่วยชีวิตนางก่อน คุณอาจจะเลือกหมอ เพราะเขาเคยช่วยชีวิตคุณมาก่อน ตอนนี้คือโอกาสอันดีที่คุณจะตอบแทนบุญคุณ (แน่นอนว่าคุณอาจจะตอบแทนเขาในวันข้างหน้าก็ได้) หรือคุณอาจจะเลือกคนรักในฝัน ถ้าพลาดโอกาสนี้ไป คุณอาจจะไม่มีวันได้พบเธออีกก็ได้...
ในบรรดาคนที่มาสมัครงานกว่า 200 คนนั้น คำตอบของคนที่บริษัทรับไว้ คือ
"ผมเอากุญแจรถให้หมอ รีบพาหญิงชราไปส่งโรงพยาบาล ส่วนผมอยู่เป็นเพื่อนคนรัก รอรถประจำทางด้วยกัน"
บางครั้ง ละทิ้งกรอบความคิดเดิมๆ เรากลับจะได้รับอะไรมากยิ่งกว่า
เรื่องนี้กำลังบอกอะไรอยู่?
การหัดขับรถนั้น วิ่งตรงบนถนน ย่อมเป็นเรื่องง่ายและลัดที่สุด แต่ถ้าวิ่งบนทางวิบากขึ้นเขาลงห้วยเลี้ยวลดคดเคี้ยวแล้ว ก็ต้องมีฝีมือและประสาทไว ความคิดก็เช่นเดียวกัน ความคิดแบบเส้นตรง เคยชิน เป็นอะไรง่ายที่สุด แต่ก็ธรรมดาที่สุด การใช้ความคิดเช่นนี้แก้ปัญหา ย่อมไม่มีลักษณะสร้างสรรค์ ที่พูดกันว่า บางครั้งสมองต้องหักเลี้ยวกระทันหัน ก็เพื่อแหวกกรอบรูปแบบความคิดที่ติดกับความเคยชิน นี่ก็คือ การแสดงออกซึ่งปัญญาแบบหนึ่งความแยบคายของข้อทดสอบนี้อยู่ที่การเปลี่ยนปรับบทบาท หัวข้อทดสอบนี้มักทำให้คนฟังถลำสู่ความคิดแบบเคยชิน มองตัวเองเป็นฝ่ายเลือก และมองหญิงชรา หมอ หรือ คนรัก เป็นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งก็คือ ฝ่ายถูกเลือก ซึ่งการมองแบบนี้คิดมากคิดหนักอย่างไร? ก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าควรจะเลือกอะไรดี แต่ถ้าเปลี่ยนบทบาทตนเองเป็นฝ่ายถูกเลือก มิใช่เลือกผู้อื่นโดยยึดที่นั่งตำแหน่งคนขับ ก็เ่ทากับเป็นการเพิ่มโอกาสสับเปลี่ยนตำแหน่ง เมื่อมีทางลักษณะหลากหลายมากขึ้น ก็จะได้แผนการที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น