แนวคิดดังกล่าวได้ถูกขยายออกไปยังประเทศต่างๆในยุโรป ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่รับเอาแนวคิดเรื่อง Productivity มาใช้ และได้ปรับปรุงแนวทางการเพิ่มผลผลิตขึ้นใหม่โดยให้ความสำคัญกับคนมากขึ้น เพราะถือว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการเพิ่ม Productivity จนทำให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มี Productivity ในระดับสูง
แนวคิด 2 ประการ
ที่อธิบายถึงความหมาย
ของคำว่า Productivity ได้อย่างชัดเจน
1. ด้านเศรษฐกิจและสังคม
ความคิดที่แสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่า วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน และวันพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ เป็นจิตสำนึกในเรื่องประหยัดทรัพยากร พลังงาน เงินตรา เพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ
2. ด้านวิทยาศาสตร์
อัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ ได้แก่ แรงงาน วัตถุดิบ พลังงาน เครื่องจักร และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลที่ได้จากกระบวนการผลิต เช่น ตู้เย็น รถยนต์ โทรทัศน์ ธนาคาร การขนส่ง และอื่นๆ
Productivity = ผลิตผล / ปัจจัยการผลิต
การวัดการเพิ่ม Productivity ทำได้ทั้งการวัดขนาด ผลงานเป็นชิ้น เวลา และตัวเงิน
ทำไมต้องมีการเพิ่ม Productivity
1. ทรัพยากรที่จำกัด
การเพิ่ม Productivity เป็นเครื่องมือที่ทำให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันจะน้อยลงให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ทรัพยากรที่จำกัด เช่น เวลา เงินทุน แรงงาน วัตถุดิบ
2. การเพิ่ม Productivity เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เช่น การกำหนดผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดส่วนเกิน ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่าของทรัพยากร
3. การแข่งขัน
บริษัทต่างๆจะอยู่รอดได้ ต้องมีการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ และการเพิ่ม Productivity ก็เป็นแนวทางการปรับประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ซึ่งทำให้เราสู้กับคู่แข่งได้
4. กำไร
การเพิ่ม Productivity เป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร เพื่อจะนำไปแบ่งปันแก่ทุกคน ทั้งเจ้าของกิจการ พนักงาน และผู้ถือหุ้น
ทุกคนควรที่จะตระหนักถึงความจำเป็น และความสำคัญในการเพิ่ม Productivity โดยเฉพาะ ผู้บริหารต้องสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมเพิ่ม Productivity ในองค์กร ขณะเดียวกัน พนักงานต้องให้ความร่วมมือโดยการทำงานอย่างเต็มความสามารถ และเพิ่มทักษะในการทำงานที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ในแต่ละวันทุกคนต้องทำงานด้วยความตั้งใจและความกระตือรือร้น
Cr. Thailand Productivity Institute
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น