วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำความรู้จักกับ "วันลอยกระทง" กันเถอะ


          วันลอยกระทง (Loy Krathong day) ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ในวันนี้ ที่นิยมกันมากคนส่วนใหญ่จะนำกระทงที่เย็บด้วยใบตอง ยกขอบสูงเพื่อให้ลอยน้ำได้ และมีธูปเทียนเล่มเล็กๆที่จุดไฟและปักไว้กลางกระทง

ประวัติโดยย่อของประเพณีลอยกระทง

           ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่ามีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด เช่น เดิมน่าจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา

           ต่อมาในสมัยสุโขทัย นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์กระทงถวายพระร่วงเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ พระร่วงทรงพอพระทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "ลอยกระทงประทีป") อุทิศสักการบูชา พระพุทธบาทนัมมานที ตามหลักฐานที่ปรากฎในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ ตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง

           เมือถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีนี้ยังนิยมทำกันเป็นงานใหญ่ มีการแข่งขันประดิษฐ์กระทงเป็นการใหญ่โต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเห็นว่าสิ้นเปลือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกเสีย และให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเป็นเรือลอยพระประทีปแทนกระทงใหญ่ เรียกว่า "เรือลอยพระประทีป"

           ปัจจุบันการจัดงานวันลอยกระทงในไทยเกิดขึ้นต่อเนื่องในทุกๆปี วัตถุประสงค์คือ เพื่อบูชาขอขมาลาโทษที่ทำให้แม่น้ำไม่สะอาด เป็นการแสดงความสำนึกคุณแหล่งน้ำซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต อีกทั้งเพื่อส่งเสริมงานช่างฝีมือในการประดิษฐ์กระทงด้วยใบตองหรือวัสดุอื่นๆ และส่งเสริมการท่องเที่ยว และที่สำคัญเพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีไทย

วัสดุในการทำกระทง


            เพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติแม่น้ำลำคลองตามวัตถุประสงค์ คุณควรเลือกทำหรือซื้อกระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง กาบกล้วย ส่วน พืชผักสวนครัวอย่าง ดอกขจร ดอกแค ใบกระหล่ำปลี หัวปลี และ กระดาษชานอ้อย นำมาตกแต่งเป็นกลีบกระทงได้ และใช้ ผักตบชวา เป็นตัวก้านมัดรวมกันเป็นกระทง ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม

1. กระทงที่ทำมาจาก แป้งมันสำปะหลัง และ ขนมปัง ถึงแม้จะย่อยสลายได้เร็วและเปื่อยได้ง่าย แต่ก็สามารถทำให้แหล่งน้ำมีออกซิเจนต่ำลง น้ำเน่าเสียได้เร็ว ถ้าหากนำกระทงไปลอยในแหล่งน้ำปิดที่ไม่มีสัตว์น้ำ

2. วัสดุที่ไม่ควรใช้ในการทำกระทงเป็นอย่างยิ่ง ที่รู้ๆกัน คือ โฟม และ เศษกระดาษรีไซเคิล ที่เป็นกลีบกระทง เนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานมาก และควรคำนึงถึงว่า การเย็บติดกาบกล้วยหรือใบตอง ไม่ควรใช้ ตะปู หมุด แต่ควรใช้ ก้านไม้กลัดปลายแหลม จะได้สะดวกในการคัดแยกขยะ

สถานที่ลอยกระทงในปีนี้ในกรุงเทพฯ ในปี 2557

            ที่นิยมคุณสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่  หรือสามารถไปการจัดงานตามสถานศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดัง 9 แห่งที่ได้จัดงานลอยกระทง ได้แก่ มหิดล ศาลายา, จุฬาฯ, เกษตรศาสตร์, ธรรมศาสตร์, มศว. , รังสิต, ศรีปทุม, รังสิต และ ม.ขอนแก่น ซึ่งคุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเบื้องต้นของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ที่ คลิก

            นอกจากนี้ประเพณีลอยกระทงไม่ได้จัดขึ้นเฉพาะในไทยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และ พม่า ด้วยแต่อาจมีรายละเอียด พิธีกรรม แตกต่างไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น