คนเราไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดต่างต้องการกำลังใจ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึง "ความเอาใจใส่ต่อกัน" ทุกคนย่อมได้เรียนรู้ในการให้และได้รับกำลังใจมาตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มมาจากสัมพันธภาพภายในครอบครัว เช่น การอุ้มชู กอดรัด และคำพูดที่สร้างเสริมกำลังใจ
เมื่อแต่ละบุคคลนั้นโตขึ้นก็จะรู้จักพัฒนา "การเอาใจใส่" ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น
เช่น
ยามเมื่อเพื่อนมีทุกข์ เพียงแค่การจับมือก็สามารถสื่อความหมายของการถ่ายทอดความรู้สึกที่เห็นใจได้ดีกว่าคำพูดเสียอีก
การเอาใจใส่
มีหลายแบบดังนี้
การเอาใจใส่ทางบวก (Positive
Strokes)
เป็นการกระทำที่ทำให้ผู้รับมีความรู้สึกดีขึ้น เช่น ชมเชยกัน ประมาณว่า You're
O.K.
การเอาใจใส่ทางลบ (Negative
Strokes)
เป็นการกระทำที่ทำให้ผู้รับมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ดี ไม่มีคุณค่า (You're
not O.K.) เช่น การตำหนิ
การเอาใจใส่ทางบวกหรือทางลบอย่างมีเงื่อนไข
(Conditioned Strokes)
เป็นการกระทำในลักษณะที่ให้กำลังใจหรือลดกำลังใจ
เพราะผู้รับได้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ให้หรือลดกำลังใจ
ตัวอย่าง การเอาใจใส่ทางบวก เช่น “งานที่ทำเสนอขึ้นมาเรียบร้อยดีจริง
ขอมอบปากกาให้เป็นรางวัล” ถ้าเป็นการเอาใจใส่ทางลบ
ก็เช่น “เสนองานขึ้นมาแต่ละครั้งมีแต่ผิด
ๆ พลาด ๆ เห็นท่าจะต้องย้ายให้ไปอยู่แผนกอื่น”
การเอาใจใส่ทางบวกหรือทางลบอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned
Strokes)
เป็นการกระทำหรือการแสดงออกในลักษณะที่ให้หรือลดกำลังใจ
โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้รับ เช่น “ดีใจจังเลยที่ได้พบกันวันนี้” หรือ “เธอนี่มันอยู่ที่ไหนวุ่นที่นั่นเลยนะ”
การเอาใจใส่ที่หลอกลวง
(Plastic Strokes)
เป็นการกระทำที่ให้กำลังใจแด่ผู้ให้อย่างเสแสร้ง ไม่ได้ให้จากใจจริง เช่น แกล้งยอ
แกล้งชม อันนี้คนได้รับมันปวดใจ
การเอาใจใส่ที่เป็นพิธีการ
(Ritual Strokes)
เป็นการกระทำดีต่าง ๆ เพียงเพื่อเป็นมารยาทในสังคม
หรือเพื่อดำเนินสัมพันธภาพของบุคคลในสังคม เช่น การจับมือกัน การโค้ง การไหว้
การทักทายถามถึงความทุกข์สุขซึ่งกันและกันในระหว่างที่พบกันในสังคม
การเอาใจใส่จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้การทำงานบรรลุจุดมุ่งหมายด้วยดี
และผู้ที่ร่วมทำงานก็มีความสุขและรู้สึกว่าตนนั้นมีคุณค่าแก่องค์กร
Cr. OKNation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น